กระบอกฉีดยามีกี่ขนาด ใช้ทำอะไรบ้าง ?

Last updated: 9 พ.ค. 2568  |  16 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กระบอกฉีดยามีกี่ขนาด

กระบอกฉีดยา (Syringe) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นและใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในโรงพยาบาล คลินิก รวมถึงการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน การเลือกกระบอกฉีดยาให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงจากการใช้งานผิดประเภทได้ ดังนั้น บทความนี้จะแนะนำวิธีเลือกกระบอกฉีดยาแบบง่าย ๆ ที่ทุกท่านสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อได้อย่างมั่นใจค่ะ

กระบอกฉีดยาใช้ทำอะไรได้บาง ?

  • ใช้ฉีดยาเข้าสู่ร่างกาย ใช้สำหรับฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือด ใช้ฉีดวัคซีน หรือยารักษาโรคต่าง ๆ โดยใช้ร่วมกับเข็มฉีดยา
  • ใช้ดูดและจ่ายของเหลว ใช้ดูดเลือดจากหลอดเลือดเพื่อส่งตรวจ ใช้จ่ายยา น้ำเกลือ หรือสารละลายเข้าเส้นเลือด รวมไปถึงใช้ในงานทดลองทางห้องแล็บ เช่น ดูดสารเคมี
  • ใช้ในงานสัตวแพทย์ ใช้ฉีดยาสัตว์เลี้ยง เช่น วัคซีน และให้อาหารหรือของเหลวแก่ลูกสัตว์
  • ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใช้ใส่อาหารเหลวทางสายยาง หรือใช้ในการช่วยล้างแผล
  • งานทั่วไปหรือ DIY ใช้หยอดกาว หรือสารเคมีในงานประดิษฐ์ หรือใช้เติมหมึกปริ้นเตอร์บางรุ่น


กระบอกฉีดยามีกี่ขนาด แต่ละขนาดใช้ทำอะไร
โดยแต่ละขนาดเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • 0.3 / 0.5 / 1 ml. – ใช้สำหรับฉีดยาปริมาณน้อย เช่น อินซูลิน ตรวจภูมิแพ้ ใช้ทดสอบภูมิคุ้มกันวัณโรคและบาดทะยัก
  • 3 ml. – เป็นหนึ่งในขนาดกระบอกฉีดยาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เหมาะสำหรับการใช้ฉีดยาแบบทั่ว ๆ ไปในการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ เช่น ต้นแขน สะโพก
  • 5 ml. – ใช้ฉีดยาปริมาณปานกลาง เหมาะสำหรับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ
  • 10 ml. – เหมาะสำหรับฉีดยาเข้าหลอดเลือด เช่น บริเวณข้อพับหรือหลังมือ ข้อศอก นิ้วโป้ง เป็นต้น
  • 20 ml. – เป็นกระบอกฉีดยาขนาดกลาง ใช้ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำเพื่อการดูดซึมยาอย่างรวดเร็ว
  • 50 ml. – เหมาะสำหรับฉีดยาในปริมาณมาก เช่น ยาฆ่าเชื้อ ยาเคมีบำบัด หรือยาระงับปวดชนิดรุนแรง และสามารถใช้สำหรับให้อาหาร (Catheter Tip) และให้น้ำเกลือ (Eccentric Tip) ได้
  • 100 ml. – เหมาะสำหรับใช้ในทางการแพทย์และงานอเนกประสงค์อื่น ๆ เช่น การดูดของเหลว สารเคมี น้ำมันหอมระเหย น้ำมันหล่อลื่น สารผนึก งานยานยนต์ เป็นต้น


วิธีเลือกกระบอกฉีดยาให้เหมาะสม

1. เลือกขนาดให้เหมาะสม เช่น 0.5–1 ml. ใช้ฉีดอินซูลินและทดสอบภูมิแพ้ หรือ 3–5 ml. ใช้ฉีดยาทั่วไป ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นต้น
2. เลือกระบบหัวเข็ม สำหรับ Luer Slip ใช้เสียบเข้ากับเข็มหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งใช้งานง่าย เพราะไม่ต้องหมุนล็อก แต่สำหรับ Luer Lock จะต้องหมุนล็อกเข็มหรืออุปกรณ์เข้ากับกระบอกฉีดยาให้แน่น ทำให้ไม่หลุดง่าย ซึ่งมีความปลอดภัยกว่า
3. เลือกแบบมีหรือไม่มีเข็ม หากมีเข็มในชุด สามารถใช้งานได้ทันที มีความสะดวก แต่หากเป็นชนิดไม่มีเข็ม จะเหมาะสำหรับใช้คู่กับเข็มเฉพาะ หรือใช้ดูดจ่ายของเหลวเท่านั้น
4. วัสดุคุณภาพปลอดภัย โดยทั่วไปกระบอกฉีดยาทางการแพทย์จะเป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ตรงกับวัตถุประสงค์ใช้งาน
5.ผ่านมาตรฐานรับรอง เลือกสินค้าที่มี มาตรฐานสากล เช่น ISO หรือ FDA เพื่อความมั่นใจในคุณภาพ

หากทุกท่านกำลังมองหากระบอกฉีดยาคุณภาพสูง เช่น กระบอกฉีดยา NIPRO ที่ได้มาตรฐาน ปราศจากเชื้อ คุณภาพดี และมีให้เลือกหลากหลายขนาด สามารถเยี่ยมชมสินค้าได้ที่ กระบอกฉีดยา ในร้านบางกอกเวลบีอิ้งเลยนะคะ

ช่องทางการติดต่อ
3/12 ถ. วุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
Line Official: @bangkokwellbeing
โทร. 080-6414556

บทความโดย: Bangkok Well Being
ที่มา: KMedHealth
รูปภาพจาก: Bangkok Well Being

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้